วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ดาวกับวรรณคดีไทย

ถ้าบอกว่าคนไทยเราเก่งดาราศาสตร์มาแต่โบราณ ท่านจะเชื่อกันไหมครับ จริงๆแล้วคนไทยรู้จักการดูดาวมานานมาก ยกตัวอย่างเช่นในกลอนบทหนึ่งที่น่าจะเคยได้ยินกัน

สักวาดาวจระเข้ก็เหหก
ศีรษะตกหันหางขึ้นกลางหาว
เป็นวันแรมแจ่มแจ้งด้วยแสงดาว
น้ำค้างพราวปรายโปรยโรยละออง
ลมเรื่อย เรื่อย เฉื่อยฉิวต้องผิวเนื้อ
ความหนาวเหลือทานทนกมลหมอง
สกุณากาดุเหว่าก็เร่าร้อง
ดูแสงทองจับขอบฟ้าขอลาเอย
บทกลอนนี้กล่าวถึง ดาวจระเข้ที่ไทยใช้เรียก "ดาวหมีใหญ่" หรือดาว Ursa Major ที่เป็นชื่อเรียกในกลุ่มดาวนี้ในแผนที่ดาวสากลครับ แต่ละประเทศก็จะเรียกไปตามพื้นที่หรือตามวัฒนธรรมของตนเอง เช่นที่เราเรียกดาวกลุ่มนี้ว่าดาวจระเข้ ก็เพราะบ้านคนไทยเรามักตั้งอยู่ริมน้ำ และได้พบเห็นจระเข้ได้บ่อย เมื่อเห็นภาพดาวกลุ่มนี้(ดูเฉพาะบริเวณลำตัวที่ยาวคล้ายลำตัวจรเข้และหางที่ยาวครับ)
สำหรับชาวต่างชาติ(โดยเฉพาะทางยุโรป) หลายประเทศก็จะมีหมีเป็นสัตว์ที่พบเห็นได้ เมื่อเห็นภาพกลุ่มดาวนี้ก็เรียกเป็นกลุ่มดาวหมีใหญ่ บางประเทศก็จะเรียกแตกต่างกันไปเช่น ดาวกระบวยใหญ่ (ดูเฉพาะบริเวณสะโพกและหางของหมีจะเหมือนกับกระบวยตักน้ำครับ) หรือแม้แต่ในประเทศไทยเองยังเรียกต่างกันเลยนะครับ คนไทยทางภาคเหนือจะเรียกว่าดาวช้าง (น่าจะดูกลับด้านหางของหมีเป็นงวงช้างนะครับถึงจะดูเหมือนช้างครับ)

ไม่มีความคิดเห็น: