วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
วันตะวันอ้อมข้าว
ในคืนวันนี้ 21 ธันวาคม จะเป็นกลางคืนคืนที่ยาวนานที่สุดในรอบปี
เป็นวันที่ดวงทิศขึ้นอ้อมฟ้าไปทางใต้มากที่สุด
คนโบราณเชื่อว่าตะวันยอมอ้อมฟ้า
เพื่อหลบไม่ข้ามทุ่งข้าวที่ตั้งท้องออกรวง
เป็นการให้ความเคารพกับต้นข้าว
ที่ยอมออกรวงเพื่อเป็นอาหารให้กับมนุษย์
เป็นวันที่ดวงอาทิตย์อยู่บนขอบฟ้าต่ำสุด
โดยขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้มากที่สุด
และตกทางทิศตะวันตกเฉียงใต้มากที่สุด
ภาษาอังกฤษ เรียก Winter Solstice
Solstice ใช้คำไทยว่า อายัน โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ทำให้มีปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "อายัน" อายันเกิดขึ้นทุกปี ปีละ 2 ครั้ง ถ้าเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 20 หรือ 21 มิถุนายนเรียกว่า ครีษมายัน (summer solstice) และในวันที่ 21 หรือ 22 ธันวาคมเรียกว่า เหมายัน (winter solstice) หรือที่เราเรียกกันว่า ตะวันอ้อมข้าว
(เหมายัน (เห-มา-ยัน) หรือ ทักษิณายัน (อังกฤษ: winter solstice) เป็นการที่ดวงอาทิตย์ โคจรไปถึงจุดหยุด (solstice) คือ จุดสุดทางใต้ในราววันที่ 22 ธันวาคม เป็นจุดในฤดูหนาว มีกลางคืนนานกว่ากลางวัน, ตรงข้ามกับ ครีษมายัน (summer solstice))
นอกจากนี้โลกยังมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากันตลอดปี ช่วงที่ใกล้ที่สุดเกิดขึ้นในต้นเดือนมกราคม (147 ล้านกิโลเมตร) ส่วนช่วงที่ไกลที่สุดเกิดขึ้นในต้นเดือนกรกฎาคม (152 ล้านกิโลเมตร)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น